Monthly Archives: July 2017

บ้านผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เอง 24 ชม. ด้วยระบบไฮบริด Solar-Hydrogen

บ้านที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เองด้วยเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เซลล์แสงอาทิตย์ Solar Cell ร่วมกับ เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell เป็นระบบ Solar-Hydrogen Fuel Cell ใช้ “แสงแดด น้ำ อากาศ” เป็นเชื้อเพลิงในการสร้างพลังงานไฟฟ้าใช้ในบ้าน ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งอยู่ที่ ต.สันผีเสื้อ จ.เชียงใหม่ ภายในบ้านจะใช้ระบบโครงข่ายการกักเก็บพลังงานขนาดย่อม เป็นศูนย์กลางในการเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งกลางวันและกลางคืน โดยตอนกลางวันที่มีแสงแดดผลิตไฟฟ้าด้วย เซลล์แสงอาทิตย์ Solar Cell และนำพลังงานจากแสงแดดบางส่วนไปใช้ในกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ทำให้ได้ก๊าซไฮโดรเจนออกมาและนำไปเก็บรักษาไว้ในถังเก็บก็าซไฮโดรเจน ตอนกลางคืนที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดได้ สามารถใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell นำ ไฮโดรเจนที่เก็บไว้ในถังมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell จำเป็นต้องใช้ ไฮโดรเจน (H2) และ อากาศ (O2) ร่วมกันในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell คือ ไฟฟ้ากระแสตรง ความร้อน และ น้ำบริสุทธิ์… Read More »

ความรู้พื้นฐาน ขอบเขตงานระบบไฟฟ้า (Electrical Basic Knowledge)

งานระบบไฟฟ้า Electrical 1. ขอบเขตของงาน 1.1 ผู้รับจ้างต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ แรงงานที่มีฝีมือและความชำนาญ และมีระบบควบ คุมคุณภาพที่ดี ในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ตลอดจนงานชั่วคราว เพื่อให้งานติดตั้งระบบไฟฟ้า แล้วเสร็จสมบูรณ์ และใช้งานได้ตามความประสงค์ของผู้ว่าจ้าง 1.2 ผู้รับจ้างต้องประสานงานกับผู้รับจ้างก่อสร้างอาคาร และผู้รับจ้างรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ งานก่อสร้างระบบไฟฟ้าแล้วเสร็จสมบูรณ์ 1.3 ผู้รับจ้างต้องจัดหาและติดตั้งงานไฟฟ้าทั้งหมดให้ถูกต้องตามกฎของการไฟฟ้าฯ ตามมาตรฐาน ความปลอดภัยสำหรับงานระบบไฟฟ้าของประเทศไทยและ NEC ผู้รับจ้างต้องแก้ไขงานที่ผิดกฎ และ/หรือ มาตรฐานดังกล่าวให้ถูกต้อง โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้าง 1.4 จุดของดวงโคม, ปลั๊ก, สวิทช์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่แสดงในแบบ เป็นจุดตำแหน่ง โดยประมาณเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพของอาคาร โดยผู้รับจ้างจะต้องจัดทำ Shop Drawing ให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการ 1.5 วัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง ต้องเป็นของใหม่ ได้มาตรฐาน อยู่ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ และ ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน เป็นของที่กำหนดไว้ในแบบและรายการประกอบแบบ และผ่านการ พิจารณาอนุมัติจากผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นชนิดที่การไฟฟ้าฯ ยินยอมให้ใช้ และมีคุณภาพตาม… Read More »

การติดตั้ง Surge protection device, QOSPD20 by Schneider

การติดตั้ง QOSPD20, Surge protection device ที่ถูกต้องควรติดตั้งอย่างไร และสังเกตุการทำงานอย่างไร? QOSPD20,  Surge protection device สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในตู้โหลดเซ็นเตอร์หรือคอนซูเมอร์ยูนิตของ Schneider(Square D) เพื่อป้องไฟกระโชกที่แรงดัน 230V. 1 เฟส 3สาย (ใช้สำหรับระบบไฟฟ้าที่มีการต่อสายดินที่ถูกต้องเท่านั้น) หลักการติดตั้งที่ถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ในกรณีตู้คอนซูเมอร์ยูนิต (1เฟส)ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่องลูกย่อยช่องแรก(ถัดจากเมนเซอร์กิตเบรคเกอร์) ดังรูปด้านล่าง ในกรณีตู้โหลดเซนเตอร์ (3เฟส) ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่องลูกย่อยช่องแรก ของแต่ละเฟส หลักการสังเกตุการทำงานของ QOSPD20 : Surge protection device หลอด LED “สว่าง” = การทำงานปกติ หลอด LED “ดับ” = SPD ไม่ทำงาน (หมดอายุการใช้งาน ควรเปลี่ยนตัวอุปกรณ์ใหม่) Source: http://www.schneider-electric.co.th/th/faqs/FA290050/